บทคัดย่อ
บ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นสถานที่ที่บุคคลในครอบครัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ที่พักอาศัยนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญและจำเป็นมากสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไปและเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของผู้อยู่อาศัย
การทำโครงงานในครั้งนี้เป็นการทำโครงงานเพื่อศึกษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอุบัติเหตุในบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นอุบัติภัยใกล้ตัวอย่างหนึ่ง คณะผู้จัดทำโครงงานได้รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หนังสือที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในบ้าน สอบถามจากบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย ปัจจัยด้านบุคคล พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รวบรวมข้อมูลจากสื่อต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทำเป็นข้อมูลเส้นใยแมงมุม (Mind Mab)เพื่อหาประเด็นและรายละเอียดย่อยของความเสี่ยงของพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุภายในบ้านเพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อมูลที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนมากขึ้น
มนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีที่อยู่อาศัยเพื่อปกป้องร่างกายจากฝน ลมหรือสัตว์ร้ายต่างๆที่จะมาทำอันตรายต่อมนุษย์เอง ดังนั้นมนุษย์จึงต้องอาศัยในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต มนุษย์ในยุคแรกๆ นิยมอาศัยอยู่ในถ้ำหรือตามโตรกผาต่างๆเพื่อกันลมและฝนรวมไปถึงสายฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้องอีกด้วย เนื่องจากมนุษย์ในอดีตยังไม่เข้าใจหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์หรือเกษตรกรรมจึงไม่รู้จักการสร้างบ้าน (มนุษย์ยุคหลังจากนั้นนิยมสร้างบ้านเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่สะอาดและสะดวกสบายกว่าถ้ำ และมักสร้างริมแม่น้ำเพื่อสะดวกในการเพาะปลูก) หรือการปลูกพืช เพียงแค่ล่าสัตว์และเก็บพืชผักสะสมอาหารเพื่อเอาชีวิตรอดเท่านั้น แต่ในช่วงยุคหลังๆมนุษย์เริมเข้าใจในหลักวิทยาศาสตร์เลิกกลัวลมฟ้าอากาศและเริ่มเข้าใจเรื่องระบบนิเวศ การเกษตรและการ ปศุสัตว์จึงเริ่มหันมาปลูกบ้านเป็นที่อยู่ถาวรเลิกเร่ร่อนล่าสัตว์หรือเก็บของป่าแล้วมาเพาะปลูกพืชต่างๆแทน รวมไปถึงเริ่มรู้จักประโยชน์ของแม่น้ำและสร้างบ้านใกล้แหล่งน้ำเพื่อเพาะปลูกและใช้อาบกิน มนุษย์ยุคปัจจุบันไม่ได้สร้างบ้านติดแม่น้ำเพื่อการเกษตรอีกต่อไปแต่ใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในครอบครัวเป็นแหล่งที่ประกอบอาชีพหรือพักผ่อนหย่อนใจและในปัจจุบันการสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยต่างๆ เพื่อจุดประสงค์เดียวกับในอดีตนั้นหายากขึ้นและแทบไม่ปรากฏในบริเวณตัวเมืองหรือเขตประชากรหนาแน่น
กิตติกรรมประกาศ
การทำโครงงานครั้งนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาของ อ.ดร.ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษา คำแนะนำชี้แนวทางที่เป็นประโยชน์ เสียสละเวลาอันมีค่าในการตรวจสอบแก้ไข้ข้อบกพร่องต่างๆ ทุกขั้นตอนของการทำโครงงาน ตลอดจนสนับสนุนกระตุ้นและให้กำลังใจตลอดมา คณะผู้ทำโครงงานจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้
ขอขอบคุณ คุณนริศร์ จิตปัญโญยศ ผู้แต่งหนังสือเรื่องปลอดภัยนะหนู รู้ภัยในบ้าน ที่ได้กรุณาทำการเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อให้คณะผู้จัดทำได้นำมาเป็นเอกสารอ้างอิงในการทำโครงงานเพื่อได้แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี คณะผู้ทำโครงงานจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้
ขอขอบคุณศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง (มอ.เก่า) ที่อนุญาตให้คณะผู้จัดทำโครงงานได้เข้าไปยืมหนังสือเพื่อมาทำโครงงานและสืบค้นข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์แก่การทำโครงงานในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ขอขอบคุณศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ มอ.ใหม่ ที่อนุญาตให้คณะผู้จัดทำโครงงานได้เข้าไปยืมหนังสือเพื่อมาทำโครงงานและสืบค้นข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์แก่การทำโครงงานในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ท้ายที่สุดนี้ขอขอบคุณนิสิตชั้นปีที่ 2 ที่ได้ร่วมมือร่วมใจและให้ความช่วยเหลืออุปกรณ์และงบประมาณในการทำโครงงานครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและโครงงานครั้งนี้ไม่อาจสำเร็จลุล่วงได้หากไม่ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากคณะผู้จัดทำโครงงานที่ได้ความแรงร่วมใจในการทำโครงงานครั้งนี้ คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
คณะผู้จัดทำโครงงาน
10 ตุลาคม 2559
บทนำ
การทำโครงงานครั้งนี้เป็นการศึกษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน โดยคณะผู้จัดทำโครงงานได้ตั้งหัวข้อของโครงงานและดำเนินวิธีการจัดทำโครงงานที่เกี่ยวข้องและครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้
1.ความสำคัญและความเป็นมา
2.วัตถุประสงค์การทำโครงงาน
3.กรอบแนวคิดของการทำโครงงาน
4.คำนิยามศัพท์
5.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ความสำคัญและความเป็นมา
การดำรงชีวิตในปัจจุบันทุกครอบครัวจำเป็นจำเป็นต้องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า พัดลมไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งการใช้เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆเหล่านี้ในระยะยาวนั้นจำเป็นต้องรู้จักวิธีการบำรุงรักษาหรือดัดแปลงเครื่องอำนวยความสะดวกเหล่านั้นเพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งเพื่อให้มีรูปแบบหรือวิธีการใช้ที่แปลกใหม่อีกด้วย ดังนั้นงานช่างจึงเข้ามามีบทบาทในการซ่อมแซมและดัดแปลงเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆซึ่งงานช่าง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวัสดุต่างๆให้เกิดประโยชน์ นำความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในการปฏิบัติจริง จะทำให้เครื่องอำนวยความสะดวกหรือเครื่องใช้ในบ้าน มีความคงทนและสามารถใช้งานได้นานและทำให้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น งานช่างในบ้านเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับของใช้ในบ้านเป็นส่วนใหญ่และการที่จะเลือกบำรุงรักษาและซ่อมแซมหรือดัดแปลง ควรมีทักษะความรู้และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้ของใช้ในบ้านไม่เสียหายหรือเกิดอุบัติเหตุในระหว่างปฏิบัติงาน ดังนั้นควรมีการศึกษาหาความรู้อย่างชัดเจนและถูกต้องเพื่อนำไปปฏิบัติได้อย่างปลอดภัย
ความสำคัญของอุบัติภัย
การใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศนั้นทำเกิดการพัฒนาที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการคมนาม การอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม
การขนส่ง การก่อสร้างและการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการคมนาคม การขนส่งที่มียานพาหนะเพิ่มขึ้น ด้านอุตสาหกรรมเกิดมีโรงงานเพิ่มขึ้น ด้านการก่อสร้างที่มีความเจริญรุดหน้า และมีสิ่งก่อสร้างอยู่ทั่วไป ทางด้านเกษตรกรรมได้มีการใช้สารเคมีการเกษตรเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หน่วยศึกษานิเทศก์สำนักพัฒนาการพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ (2544:9) กล่าวว่าเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า อุบัติภัยคือโรคซึ่งเกิดจากการพัฒนาในต่างประเทศนั้นเมื่อมีแผนพัฒนาประเทศแล้วก็จะต้องมีแผนป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติควบคู่กันไปด้วยจึงทำให้สามารถป้องกันคนบาดเจ็บและตายจากอุบัติภัยได้ ลดการสูญเสียอันเกิดจากอุบัติเหตุได้แสดงว่ายิ่งมีการพัฒนาประเทศมากขึ้นเพียงไรประชาชนก็ยิ่งบาดเจ็บและตายจากอุบัติภัยเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
2.วัตถุประสงค์การทำโครงงาน
2.1 เพื่อศึกษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในบ้าน โดยเน้นการศึกษาปัญหาและสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุผลที่เป็นปัญหาใหญ่ๆ ภายในบ้าน คือ การเกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน การได้รับอุบัติเหตุจากอุปการณ์เครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้านและเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยภายในสังคมซึ่งสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา0505209 วิทยาศาสตร์สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน
2.2 เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนรู้จักการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท
3.กรอบแนวคิดของการทำโครงงาน
การป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในบ้าน
4.คำนิยามศัพท์
4.1 “5S เทคนิค” เป็นเทคนิคใช้ในการบริหารงานความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพ ของการผลิต ซึ่ง“5S” เป็นคำย่อมาจากอักษรตัวแรกของคำในภาษาญี่ปุ่นและมีความหมายดังนี้
1.SEIRI (เซริ) คือการจัดแยกสิ่งของให้เรียบร้อย โดยแยกให้ชัดระหว่างสิ่งของที่จำเป็นและสิ่งของที่ไม่จำเป็น สิ่งของที่จำเป็น สิ่งของที่ไม่จำเป็นก็ให้ขจัดทิ้งไป
2.SEITON (เซตง) คือการจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ โดยวางสิ่งของที่จำเป็นให้เป็นที่หยิบได้ง่าย และสะดวก
3.SEISO (เซโซ) คือการทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถูเป็นประจำ
4.SEIKETSU (เซเคทซึ) คือการรักษา 3S ได้แก่ SEIRI SEITON และ SEISO ไว้ (จัดแยก จัดวาง ดูและความสะอาด)
5.SHUTSUKE (ซิคซิเคะ) คือการรักษาหรือปฏิบัติสิ่งที่กำหนดไว้ทั้ง 4S (SEIRI SEITON SEISO SEIKETSU) อย่างถูกต้องจนเป็นนิสัย
4.2 คำว่า “KTY” ย่อมาจากคำต่อไปนี้
1.KIKEN (คิเค็น) = อันตราย
2.YOSHI (โยชิ) = คาดการณ์อันตรายไว้ล่วงหน้า
3.TRAINNING (เทรนนิ่ง) = ฝึกอบรมหรือฝึกปฏิบัติให้มีความชำนาญและหาทางป้องกัน
4.3 บ้านหรือที่อยู่อาศัย หมายถึง สถานที่ที่บุคคลในครอบครัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่
4.4 ความต้องการขั้นพื้นฐานทางสรีรวิทยา (Fundamental physiological needs) หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมของบ้านที่พักอาศัยให้มีความเหมาะสมกับความต้องการทางด้านสรีรวิทยา
4.5 ต้องการพื้นฐานทางจิตวิทยา (Fundamental Psychological Needs) หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมต่างๆของบ้านที่พักอาศัยให้ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตหรือความสุขทางใจของผู้อยู่อาศัยได้ด้วยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างกันออกไป
4.6 อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์อันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจหรือคาดคิดมาก่อนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน บุคคลได้รับอันตรายทั้งร่างกายและจิตใจอาจบาดเจ็บ พิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
4.7 ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง การปราศจากภัย
4.8 อันตราย (Danger) หมายถึง ระดับความรุนแรงที่เป็นผลเนื่องมาจากภัย อันตรายจากภัยอาจจะมีระดับสูงหรือมากน้อยก็ได้ขึ้นอยู่กับมาตรการในการป้องกัน
4.9 ภัย (Hazard) หมายถึง สภาพการณ์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อบุคคลหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือวัสดุหรือกระทบกระเทือนต่อขีดความสามารถในการปฏิบัติการปกติของบุคคล
4.10 การจัดการงานก่อสร้าง หมายถึง กระบวนการจัดการในการใช้ทรัพยากรทางด้านงานก่อสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดอันได้แก่ คน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องทุ่นแรงและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม โดยจัดให้อยู่ในระบบระเบียบสามารถดำเนินการโดยสะดวก ราบรื่นและปราศจากอุปสรรคในระหว่างการดำเนินการหรือมีก็ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดเพื่อให้ผลงานบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดโดยเจ้าของโครงการ
5.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 รู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากภาวะเสี่ยงเรื่องการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน
5.2 มีความรู้เพื่อใช้ในการต่อยอดการศึกษา
5.3 สามารถแนะนำความรู้ที่ได้ให้กับนิสิต/นักศึกษา หรือผู้ที่ใกล้ชิดให้รู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุภายในบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น